พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทานพระราชลัญจกร ประจำ พระองค์ รัชกาลที่ 9 ให้เป็นตราสัญลักษณ์ ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มีลักษณะเป็นรูปไข่ วงในคือ พระราชลัญจกรประจำ พระองค์รัชกาลที่ 9 เป็นรูปพระที่นั่งอัฐทิศ ประกอบตัวจักร กลางวงจักรมีอักขระ เป็น อุ หือเลข 9 รอบวงจักรมีรัศมีเปล่งออกโดยรอบ เหนือจักรเป็นรูปเศวตฉัตร เจ็ดชั้น ฉัตรตั้งอยู่บนพระที่นั่งอัฐทิศ แปลความหมายว่า ทรงมีพระบรมเดชานุภาพในแผ่นดิน วงนอก เป็นชื่อสถาบันราชภัฏมหาสารคาม ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
แทนค่า สถาบันพระมหากษัตริย์ ผู้ให้กำเนิด และพระราชทานนาม "มหาวิทยาลัยราชภัฏ"
แทนค่า แหล่งที่ตั้งของสถาบันฯ 36 แห่ง ในแหล่งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม
แทนค่า ความเจริญรุ่งเรื่องทางภูมิปัญญา
แทนค่า ความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒธรรมท้องถิ่นที่ก้าวไกลใน 41 แห่ง
แทนค่า ความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ดอกจาน เป็นไม้ยืนต้นในพวกพืชตระกูลถั่ว อยู่ในวงศ์(Papilionaceae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Butea monosperma (Lam.) Taub. ต้นจานเกิดในเขตร้อน ในเมืองไทยพบว่ามีต้นจานขึ้นอยู่ในป่าทั่วๆไป ตามที่ราบที่มีน้ำท่วมถึง มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น ภาคเหนือเรียก กวาว กว๋าว หรือก๋าว ภาคกลางเรียก ทองกวาว ทองธรรมชาติ ทองพรมชาติ ทองต้น ภาคใต้เรียก จอมทอง อีสานเรียก จาน ส่วนชื่อในภาษาอังกฤษก็มีหลายชื่อ เช่น Flame of the Forest,Bastard Teak, และ Bengal Kino เราเรียกต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยของเราว่า “จาน” ก็เพื่อเน้นความอีสาน เน้นพันธกิจและวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัยในฐานะมหาวิทยาลัยอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น และในส่วนของชีวิตนักเรียนนักศึกษานั้น ดอกจานเป็น เสมือนนาฬิกาบอกเวลาว่าถึงฤดูสอบปลายภาคแล้ว จะนิ่งนอนใจอยู่มิได้ และเมื่อสอบเสร็จดอกจานโรยและร่วง รุ่นพี่ที่จบการศึกษาก็จะจากมหาวิทยาลัยไป จึงเป็นห้วงเวลาแห่งความอาลัยอาวรณ์ของนักศึกษารุ่นพี่รุ่นน้อง จาน ออกเสียงเหมือน จารย์ ซึ่งหมายถึง ผู้ที่เคยบวชเรียนจนได้รับการยกย่องและผ่านพิธีเถราภิเษก (หดสรง) เป็นผู้ที่คนเคารพนับถือมีความรู้และคุณธรรมเป็นครูของคน ต้นจานและดอกจานจึงเป็นต้นไม้และดอกไม้ที่ทำให้เรารำลึกถึงครูอาจารย์ และรำลึกถึงอดีตของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามครั้งที่เป็นวิทยาลัยครูและโรงเรียนฝึกหัดครู ทั้งรำลึกถึงการก่อร่างสร้างตัวที่คนรุ่นต่างๆได้กระทำสืบต่อกันมาอย่างต่อเนื่องพัฒนามาอย่างเป็นลำดับขั้นและมั่นคง แม้จะต้องเผชิญกับอุปสรรคปัญหาและความเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วของสังคมก็ตาม เสมือนต้นจานที่ใช้เวลานานในการสร้างความมั่นคงให้กับตนเอง มีความทนทานและปรับตัวให้อยู่กับทุกสภาพดินทุกสภาพอากาศ สามารถยืนหยัดอยู่ได้อย่างยั่งยืน